วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การติดตั้งปั๊มน้ำและแท้งค์เก็บน้ำ






อุปกรณ์ที่่ใช้ในการติดตั้ง

รายการอุปกรณ์                                         ราคา(บาท)
 1.แท้งค์น้ำ ความจุ 1000 ลิตร 1แท้งค์                                      5200  บาท     
 2.วาล์วเปิด-ปิดน้ำ 3-4ตัว                                                      50  บาท   
 3.ท่อน้ำขนาด2-4นิ้วยาว30เมตร(เผื่อไว้ตามควมต้องการ),ข้อต่อ   500  บาท                              
 4.ปั้มน้ำขนาด300วัตต์                                                         2100  บาท
 5.เบรกเกอร์                                                                      80 บาท   

                                                               รวม 7,850  บาท
วิธีการติดตั้ง
             
               1. ควรตั้งระยะดูดไม่ให้เกิน 9 เมตร  เพื่อให้การสูบน้ำเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ ระยะท่อดูดน้ำจากปั๊มน้ำถึงถังเก็บน้ำที่อยู่บนพื้นดินไม่ควรเกิน 9 เมตร หรือสำหรับถังเก็บน้ำที่อยู่ใต้ดิน ควรให้ปลายท่อดูดน้ำจากก้นถังถึงระดับกึ่งกลางของปั๊มน้ำไม่เกิน 9 เมตรเช่นกัน
              2. ควรติดตั้งปั๊มน้ำใกล้บ่อน้ำ  ควรให้ระยะความลึกของท่อน้ำจากกึ่งกลางปั๊มน้ำถึงระดับใต้ผิวน้ำในบ่อไม่เกิน 9 เมตรเช่นกัน เพื่อความสะดวกต่อการซ่อมแซมและการระบายน้ำ
              3. ควรยึดเครื่องกับแท่นหรือพื้นที่แข็งแรง เช่น คอนกรีต หรือทำกรอบไม้เพื่อยึดขาปั๊มเพื่อเข้ากับพื้นให้  มั่นคงและได้ระดับ ไม่เช่นนั้นจะมีเสียงดังขณะปั๊มทำงาน
              4. การต่อท่อ  การต่อท่อที่ดีจะต้องมีข้อต่อให้น้อยที่สุด เพื่อลดการสูญเสียอัตราการไหลของน้ำเนื่องจากความเสียดทานภายในท่อ  ท่อทางด้านสูบควรมีความลาดเอียงไม่เกิน 2 เซนติเมตรทุกความยาวท่อ 1 เมตร เพื่อให้การสูบน้ำของปั๊มน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด  ต้องระวังอย่าให้เกิดรอยรั่วตามข้อต่อไม่ว่าจะเป็นท่อทางด้านสูบหรือด้านส่ง  เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มน้ำ คือถ้าท่อทางด้านสูบก่อนเข้าปั๊มน้ำมีการรั่ว จะทำให้มีอากาศเกิดขึ้นในท่อ และทำให้ไม่สามารถสูบน้ำให้ไหลต่อเนื่องและเต็มท่อได้ ส่งผลให้น้ำทางด้านส่งหรือด้านที่ต่อออกจากปั๊มน้ำไปถึงก๊อกน้ำมีอัตราการไหลน้อยกว่าปรกติ และหากยังคงมีอากาศเข้าในระบบมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ปั๊มน้ำไหม้ได้  กรณีที่มีการรั่วท่อด้านส่ง   หรือท่อที่ต่อไปก๊อกน้ำ จะมีผลให้ปั๊มน้ำทำงานบ่อยครั้ง  การรั่วเพียงเล็กน้อย เป็นเพียงหยดน้ำเล็ก ๆ ก็มีผลทำให้ความดันในเส้นท่อลดลง และเมื่อลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ สวิตซ์ความดันจะสั่งงานให้ปั๊มน้ำทำงาน  
                    ดังนั้นเมื่อต่อท่อของระบบเสร็จแล้วควรมีการทดสอบการรั่วของท่อ โดยอัดน้ำเข้าในเส้นท่อจากนั้นปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากความดันในปั๊มน้ำไม่มีการลดลงก็แสดงว่าระบบท่อไม่มีการรั่ว
                 สำหรับการสูบน้ำจากบ่อ การต่อท่อด้านสูบของปั๊มน้ำที่จะต้องจุ่มปลายท่อลงในบ่อน้ำควรใส่ฟุตวาล์ว (Foot Valve)และตัวกรองน้ำไว้ที่ปลายท่อสูบด้วย เพื่อกรองเศษใบไม้ เศษหิน เศษดิน ไม่ให้เข้าไปอุดตันในปั๊มน้ำ และฟุตวาล์วยังป้องกันน้ำในระบบท่อไหลย้อนกลับไปในบ่อน้ำขณะที่ปั๊มหยุดทำงาน  และฟุตวาล์วควรสูงจากพื้นก้นบ่ออย่างน้อย 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ผงหรือตะกอนถูกสูบขึ้นมา
                  5. การติดตั้งถังเก็บน้ำ  สำหรับบ้านพักอาศัยทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น ควรติดตั้งถังเก็บน้ำไม่ว่าจะเป็นถังเก็บน้ำบนดินหรือใต้ดิน ให้ต่อจากมิเตอร์วัดน้ำของการประปา เพื่อสำรองน้ำจากท่อประปาไว้ในถังเก็บน้ำให้มากพอ แล้วจึงต่อท่อน้ำส่งเข้าตัวปั๊มน้ำ เมื่อเราใช้น้ำตามจุดต่าง ๆ พร้อมกันหลายจุด แรงดันในท่อน้ำจะลดลง ปั๊มน้ำก็จะเริ่มทำงานเกิดแรงดันให้น้ำไหลได้มากขึ้น   แต่ถ้าเป็นอาคารสูงหลาย ๆ ชั้น การติดตั้งจะเหมือนแบบตามบ้านอาศัย แต่จะเพิ่มถังเก็บน้ำอยู่บนชั้นสูงสุดของอาคาร แล้วปั๊มน้ำจากระดับพื้นดินสู่ถังเก็บน้ำชั้นบน เพื่อสำรองไว้ใช้ตามจุดใช้น้ำตามแต่ละชั้นของอาคาร

การใช้งานปั๊มน้ำ 
                เมื่อติดตั้งปั๊มน้ำและระบบท่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ก่อนใช้ปั๊มน้ำควรปฏิบัติดังนี้
        1. ปิดวาล์วของท่อด้านส่งน้ำ  ปิดอุปกรณ์ใช้น้ำและปิดก๊อกน้ำให้สนิท
        2. ถอดจุกเติมน้ำของตัวปั๊มน้ำ
        3. เติมน้ำให้เต็มจนมีน้ำล้น
        4. ปิดจุกให้แน่น
        5. ต่อระบบไฟฟ้า  ให้ปั๊มทำงาน
        6. เมื่อปั๊มน้ำทำงานแล้ว  ให้เปิดวาล์วของท่อด้านส่งน้ำ หรืออุปกรณ์ใช้น้ำทีละน้อย  แต่ถ้าปั๊มน้ำทำงานแล้วมีน้ำออกน้อยหรือน้ำไม่ไหล  อาจเป็นเพราะว่าครั้งแรกเติมน้ำน้อยเกินไป ให้เติมน้ำใหม่อีกครั้ง        
 ข้อแนะนำในการติดตั้ง

 1. บ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ที่ไม่ได้เดินท่อ สำหรับการตั้งแท้งค์หลังบ้าน จำเป็นต้องตั้งแท้งค์
ที่หน้าบ้าน ซึ่งควรตั้งฝั่งเดียวกับมิเตอร์น้ำหน้าบ้าน เพราะจะเดินท่อจากมิเตอร์น้ำเข้าแท้งค์
ได้สะดวกไม่เกะกะ

2. ทาวน์เฮ้าส์ที่เดินท่อสำหรับการตั้งแท้งค์หลังบ้านไว้แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการขนย้าย แท้งค์เข้าติดตั้งได้หรือไม่ ซึ่งต้องยกข้ามกำแพงด้านหลังบ้าน หากไม่สามารถเข้าได้ ต้อง
เลือกใช้แท้งค์ขนาดเล็ก ซึ่งยกเข้าทางประตูบ้าน โดยทั่วไปแท้งค์ขนาด 70 ซม.จะเข้าประตู
ได้ บางบ้านอาจจะใหญ่กว่านี้ขึ้นกับขนาดประตู

3. กรณีทาวน์เฮ้าส์หลังริม, บ้านแฝด,บ้านเดี่ยว ที่สามารถเดินท่อน้ำจากมิเตอร์ไปยังด้าน
หลังได้ ควรตั้งแท้งค์ไว้หลังบ้านฝั่งเดียวกับมิเตอร์ แท้งค์จะได้ไม่เกะกะหน้าบ้านและไม่ต้อง
เดินท่อไกล

 4. กรณีบ้านที่ท่อน้ำเข้าบ้านอยู่ใต้พื้นคอนกรีตหน้าบ้าน อาจจะตั้งแท้งค์บริเวณหน้าบ้าน
(หากไม่เกะกะเกินไป) จะทำให้ไม่ต้องเดินท่อไกล ถ้าตั้งแท้งค์หลังบ้านต้องเดินท่อไปเข้า
แท้งค์และเดินท่อกลับมาหน้าบ้าน ซึ่งจะสิ้นเปลืองค่าท่อและไม่สวยงาม 

5. จุดตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ตั้งปั๊มน้ำ ระยะห่างไม่เกิน 2 เมตร และปั๊มควรอยู่ในบริเวณที่กัน
แดด กันฝน ถ้าตั้งปั๊มไกลจะทำให้ปั๊มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองท่อ และไม่สวย
งาม

 6. ควรตั้งแท้งค์น้ำห่างจากกำแพงรั้วหรือผนังบ้าน อย่างน้อย 5 เซนติเมตร

 7. หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์ใต้หลังคาที่มีน้ำหยดลงแท้งค์ 

 8. หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์บนพื้นที่ลาดเอียง

9. บริเวณที่ตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ด้านบนเหนือแท้งค์น้ำ เพียงพอต่อการเปิดฝา ติดตั้ง
อุปกรณ์ และการดูแลรักษา 

 10. ควรตั้งแท้งค์บนพื้นคอนกรี   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น